Home / 01 / 02 / 03 /04 /05 /06 / 07 / 08 / 09

Thesis เกียรติพงษ์ ลงเย










ผลงานชุดที่ 3








ผลงานชุดที่ 2

Terminal Project เกียรติพงษ์ ลงเย







Terminal Project สันติชัย ทิพย์เนตร

Thesis สันติชัย ทิพย์เนตร






ผลงานชุดที่ 2






ผลงานชุดที่ 3

Terminal Project เจนจิรา อัสดร

ผลงานชุดที่ 3







ผลงานชุดที่ 2

Thesis เจนจิรา อัสดร




ผลงานชุดที่ 1




ผลงานชุดที่ 2

Thesis เกริกชัย นุ้ยธารา









รูปแบบผลงาน Video Installation

Terminal Project อาทิตย์ แก้วแสนไชย


Thesis อาทิตย์ แก้วแสนไชย


Terminal Project อุไรทิพย์ ผมหอม

Thesis อุไรทิพย์ ผมหอม



Terminal ณัฐกานต์ ปัดภัย

Thesis ณัฐกานต์ ปัดภัย










รูปแบบผลงาน Installation Art

Thesis ศุภโชค นามโคตร









ผลงานศิลปนิพนธ์ชิ้นที่ 2


รูปแบบ: ศิลปะวิดีทัศน์ (Video Art)


ความยาว: 3:06 นาที




ผลงานศิลปนิพนธ์ชิ้นที่ 3
รูปแบบ: ศิลปะวิดีทัศน์ (Video Art)
ความยาว: 4:25 นาที




ผลงานศิลปนิพนธ์ชิ้นที่ 4
รูปแบบ: ศิลปะวิดีทัศน์ (Video Art)
ความยาว: 2:44 นาที

แนวคิด: ความขัดแย้งภายในตนเองโดยธรรมชาติไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงสื่อสารด้วยภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้เห็นลักษณะของสีหน้า ท่าทางของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เป็นการโต้ตอบกันระหว่างความคิดในจิตใจที่ขัดแย้งกัน

Terminal Project ผลงานชิ้นที่ 3 ศุภโชค นามโคตร



แนวคิด ภาพสะท้อนความเงียบเหงาในตนเอง

Terminal Project ผลงานชิ้นที่ 1 ศุภโชค นามโคตร



แนวคิด ภาพสะท้อนความเงียบเหงาในตนเอง

Terminal Project ผลงานชิ้นที่ 2 ศุภโชค นามโคตร



แนวคิด ภาพสะท้อนความเงียบเหงาในตนเอง

บ้านใหม่ในถิ่นเก่า


สิ่งใหม่ๆ มักต้องใช้ระยะเวลา ความเพียรพยายาม และความอดทน ในการทำให้ผู้คนที่ไม่คุ้นเคย เกิดความเข้าใจ ยอมรับและเล็งเห็นถึงคุณค่า

ในปีพ.ศ. ๒๕๕๐ ภาควิชาทัศนศิลป์ได้เริ่มใช้หลักสูตรศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งได้เพิ่มเติมกลุ่มวิชาเอกขึ้นสองแขนง คือ ศิลปะดิจิทัล (Digital Art) และ ศิลปะไทย (Thai Arts) ในทางทฤษฎี คำว่า “Digital Art”หมายถึงศิลปะที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน แต่ในทางปฎิบัติทางคณาจารย์กลุ่มวิชาเอกศิลปะดิจิทัล ได้ปรับเปลี่ยนและจัดเนื้อหาวิชาให้ครอบคลุมการใช้สื่อสมัยใหม่หลากหลายชนิด ในขอบข่ายของ “ศิลปะสื่อใหม่ หรือ New Media Art” ที่นอกเหนือไปจากการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพียงอย่างเดียว อันประกอบด้วย ศิลปะภาพถ่าย (Art Photography) ศิลปะวีดิทัศน์ (Video Art) ศิลปะแสดงสด (Performance Art) คอมพิวเตอร์ อาร์ต (Computer Art) และ ศิลปะจัดวาง (Installation Art) แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ผลงานรูปแบบ New Media Art ในคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ถูกสร้างสรรค์โดยนิสิตหัวก้าวหน้าในกลุ่มวิชาเอกอื่น ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ก่อนที่เปิดสอนวิชาเอกศิลปะดิจิทัล โดยมีลำดับเหตุการณ์ดังนี้

ปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในรายวิชา Art Photography II (Composition IV ในปัจจุบัน) ภาพผลงานจากศิลปินทั้งในและต่างประเทศ ที่สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบ Performance Art, Installation Art, Process Art, Conceptual Art, Video Art ฯลฯ ถูกนำมาใช้ประกอบการสอนหัวข้อต่างๆของรายวิชา ภาพผลงานของศิลปินเหล่านี้ สร้างความประทับใจและเป็นแรงบันดาลใจให้นิสิตทดลองสร้างสรรค์งานที่แปลกๆใหม่ๆ เริ่มจากนายทวีศักดิ์ แสนแพง นำเสนอผลงานแนวคิดเรื่องเส้น โดยการพับกระดาษเป็นรูปทรงจรวดนับสิบลำ และให้เพื่อนร่วมชั้นช่วยกันโยนจรวดกระดาษ เกิดเป็นเส้นในอากาศตามวิถีทางการเคลื่อนที่ของจรวดแต่ละลำ นางสาวปิยะนุช ประกอบกิจวิริยะ นำเสนอแนวคิดเรื่องน้ำหนักกลมกลืน โดยการติดโปสเตอร์สีส้มเหลืองบนบานกระจกด้านหนึ่งของตู้ปลา เพื่อให้เกิดสีสันที่กลมกลืนกับสีส้มของปลาทอง 4-5 ตัว ที่ ว่ายวนไปมาภายในตู้ ในเวลาต่อมา นายทวีศักดิ์ แสนแพงเป็นนิสิตคนแรกที่ส่งงานนอกห้องเรียน โดยได้ติดตั้งงานไว้ที่ ฝาผนังห้องปฎิบัติการภาพพิมพ์ ซึ่งสร้างความหงุดหงิดให้กับเพื่อนนิสิต ที่ต้องเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่อื่นนอกห้องเรียน แต่หลังจากนั้น นิสิตคนอื่นๆก็เริ่มติดตั้งผลงานตามสถานที่ต่างๆ ภายนอกห้องเรียน และเรียนรู้ที่จะเลือกพื้นที่ที่ติดตั้งให้เชื่อมโยงกับแนวคิดผลงาน ซึ่งเป็นหลักการทำงานของ Installation Art เช่น นายไกรวุฒิ สารผล ติดตั้งผลงานรูปทรงสัญลักษณ์ของชายและหญิง บนฝาผนังระหว่างห้องน้ำนิสิตชายและหญิง



ผลงานของไกรวุฒิ สารผล/ ผลงานของสุริยา วิไลลักษณ์

นายสุริยา วิไลลักษณ์ ติดตั้งผลงานตัวอักษรช.ช้างสีชมพู ที่มีรูปทรงคล้ายงู โดยเกี่ยวปลายหางของช.ช้างกับกิ่งของต้นไม้ นายเขาทราย โสมไชยได้วาดตัวอักษรจีนลงบนแผ่นไม้และนำแผ่นไม้ที่วาดมาวางเรียงต่อกันเป็นรูปคนที่ลานกลางตึก


ผลงานของเขาทราย โสมไชย

ในสัปดาห์ต่อมา พื้นที่ในการนำเสนอผลงานมิได้ถูกจำกัดเพียงแค่ในตึก นายกิตติพงษ์ ประจันตะเสน นำเสนอผลงานหัวข้อ space โดยการนำเศียรพระพุทธรูปวางบนแท่นที่ทำจากโฟม และใช้แรงลมพัดพาให้ผลงานเคลื่อนที่ไปตามบริเวณต่างๆ ภายในสระน้ำกลางมหาวิทยาลัย


ผลงานของกิตติพงษ์ ประจันตะเสน

หลังจากนั้น วิชานี้ก็ไม่เคยได้เรียนในห้องเรียนอีกเลย นิสิตจะติดตั้งผลงานตามบริเวณต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ และมีอิสระเสรีในการเลือกสื่อที่จะใช้สร้างสรรค์ผลงาน เช่น ในหัวข้อเวลา (อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต)นายสุริยา วิไลลักษณ์ ได้นำเสนอผลงานรูปแบบ Video Art เป็นต้น



ผลงานของสุริยา วิไลลักษณ์

ในช่วงภาคการศึกษาเดียวกัน อ.ทองไมย์ เทพราม ได้มีแนวคิดที่จะนำเสนอศิลปะที่มีความแปลกใหม่ในงานบุญเบิกฟ้าและ กาชาดจังหวัดมหาสารคาม จึงได้ช่วยกันคิดและนำเสนอผลงาน Performance Art ผู้แสดงเป็นนิสิตจำนวน 4 คน คือนายจรสัน แพงพุด นายอนุรักษ์ พร้อมบัวป่า นางสาวพนิดา วิชาชัยและนางสาวณัฐพร ป้องลอด นิสิตหญิงจะเป็นคนทาสีลงบนส่วนต่างๆของร่างกายนิสิตชาย และนิสิตชายจะเกลือกกลิ้งละเลงร่างกายที่เปื้อนสีบนผืนผ้าใบตามจังหวะเสียงดนตรีหมอลำที่แสดงสดประกอบงานแสดงนี้ สีเขียวและสีแดงถูกนำมาใช้เพื่อสื่อถึงความขัดแย้ง นิสิตทั้งสี่คนไม่เคยมีประสบการณ์การสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบ Performance Art มาก่อน จึงนำเสนอผลงานด้วยท่าทางที่ขบขัน มึนงงและเขินอาย



ผลงานเพอร์ฟอร์มแมนซ์ อาร์ต งานบุญเบิกฟ้าและ กาชาดจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๔๙

ในปีต่อมา (พ.ศ. ๒๕๕๐) ที่งานเทศกาลเดียวกันนี้ นิสิตจำนวน 6 คนคือ นายทวีศักดิ์ แสนแพง นางสาวอุษา เพลินจิตร นางสาวปิยะนุช ประกอบกิจวิริยะ นางสาวพนิดา วิชาชัย นางสาวอุไรทิพย์ ผมหอม และนายศราวุธ แวงวรรณ ได้นำเสนอผลงาน ที่ผสมผสานสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกันคือ Performance Art, Video Art และ Drawing การแสดงเริ่มจากการใช้ถุงพลาสติกคลุมศีรษะของผู้แสดงทีละคน ก่อนที่จะพันด้วยเทปกาวสีน้ำตาลทั่วทั้งศีรษะ หลังจากนั้นผู้แสดงจะนั่งวาดภาพใบหน้าของตนเองหลังจากการถูกพัน ด้วยแท่งถ่านชาร์โคลบนกระดาษสีน้ำตาล โดยดูภาพหน้าตนเองจากจอโทรทัศน์ที่ต่อสัญญานมาจากกล้องวีดีโอที่กำลังถ่ายภาพหน้าตนเองอยู่ อาจเป็นเพราะผลงานชิ้นนี้ได้ร่วมกันคิดกับนิสิตที่สร้างสรรค์ จึงทำให้นิสิตมีความเข้าใจในสิ่งที่ตนเองต้องการจะถ่ายทอดหรือสื่อกับคนดู การแสดงจึงเต็มไปด้วยความสนุกสนานและความตื่นเต้น


ผลงานเพอร์ฟอร์มแมนซ์ อาร์ต งานบุญเบิกฟ้าและ กาชาดจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๕๐


ปลายปี ๒๕๕๑ ในรายวิชาเอกประติมากรรม นายไพศาล อำพิมพ์ ได้ทดลองสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมดินเผาในรูปแบบ Installation Art ไพศาลติดตั้งผลงาน และเว้นช่องทางเดินแคบๆ เพื่อสร้างความอึดอัดและกดดันแก่ผู้ที่มาชมผลงาน จากนั้นเขาได้สร้างสรรค์งานในรูปแบบหลากหลายสื่อ (Multimedia Art) โดยการฉายภาพถ่ายของผู้หญิงในท่วงท่ายั่วเย้า จากเครื่องโปรเจ็คเตอร์ ลงบนประติมากรรมปูนปั้นใบหน้าหื่นกามขนาดใหญ่ของไพศาลผู้สร้างผลงาน นายลภณ โคตรภูเวียง ได้นำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ แนวคิดความขัดแย้งทางการเมือง ในรูปแบบของ Painting Installation มีการใช้ตัวอักษร รูปทรงสัญลักษณ์และสีสเปร์ย ที่แสดงความขบถ คล้ายงานกราฟฟิตี้ อาร์ต (Graffiti Art)



ผลงานของลภณ โคตรภูเวียง

ปี ๒๕๕๒ นายพูนศักดิ์ คลังชำนาญได้สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย ในรายวิชาเอกจิตรกรรม และพัฒนาต่อมาเป็นผลงานศิลปนิพนธ์ ภาพถ่ายที่สร้างสรรค์นำเสนอประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับกระเทยและเกย์


ผลงานของพูนศักดิ์ คลังชำนาญ

แม้ว่างานศิลปะรูปแบบใหม่ หรือ New Media Art ของนิสิตที่ได้กล่าวถึงข้างต้นนี้ ได้สร้างลู่ทางและแรงบันดาลใจให้แก่นิสิตรุ่นต่อมา แต่กระนั้นก็ตาม งานศิลปะรูปแบบใหม่นี้ ยังคงสร้างคำถามและข้อสงสัย ในเรื่องคุณค่าและความงามของผลงาน จากคณาจารย์ นิสิต และผู้ชมโดยทั่วไป ที่คุ้นชินกับรูปแบบของงานศิลปะที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูล ที่อธิบายถึงหลักสุนทรียศาสตร์ หรือการรับรู้ในเรื่องความงามของผลงาน New Media Art นี้ หนึ่งในวิธีการที่สามารถพึงกระทำได้คือ การเชิญศิลปิน นักประวัติศาสตร์ศิลป์ ภัณฑารักษ์ นักวิชาการ มาบรรยาย เสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้ซักถาม แต่กิจกรรมประเภทนี้อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องของช่วงเวลา พื้นที่ในการจัด และจำนวนของบุคคลที่เข้าร่วม การจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่และนำเสนอผลงานสื่อใหม่ (New Media Art) จึงน่าจะช่วยให้เกิดการซึมซับและสร้างความเข้าใจให้แก่ผลงานประเภทนี้ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ทีละเล็กทีละน้อย ทั้งจากการสังเกตด้วยตนเอง การอ่านแนวคิดของผลงานจากคำอธิบายภาพ การอ่านบทนำของสูจิบัตรนิทรรศการ แต่โอกาสที่จะได้ชมนิทรรศการ New Media Art ของศิลปินทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ภูมิภาคอีสาน มีความเป็นไปได้น้อย สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเรียนการสอน New Media Art ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ การส่งเสริมและให้กำลังใจแก่นิสิตที่พยายามทดลองสร้างสรรค์ผลงานรูปแบบใหม่นี้ อันส่งผลให้ทัศนะของคำว่า ”ศิลปะ” มีขอบเขตและความหมายที่กว้างขึ้น

-เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์

บทความบ้านใหม่ในถิ่นเก่า ประกอบสูจิบัตรนิทรรศการศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ ๑๔ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Home / 01 / 02 / 03 /04 /05 / 06 / 07 / 08 / 09